สรุปการสัมมนาเรื่อง การสื่อสารเนื้อหาทางประวัติศาสตร์สู่ยุคดิจิทัล

สำนักงานศาลปกครอง โดย สำนักหอสมุดกฎหมายมหาชน และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กลุ่มงานหอสมุด จดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ ร่วมกันจัดสัมมนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดฯ วันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ และเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ระหว่างบุคลากรของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และบุคลากรในเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด หน่วยงานกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 150 คน

โครงการสัมมนาเรื่อง การสื่อสารเนื้อหาทางประวัติศาสตร์สู่ยุคดิจิทัล

โครงการสัมมนาเรื่อง การสื่อสารเนื้อหาทางประวัติศาสตร์สู่ยุคดิจิทัล

สำนักงานศาลปกครอง เป็นเจ้าภาพร่วมกับสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ จัดโครงการสัมมนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและการเผยแพร่รูปแบบการนำเสนอข้อมูลของศาลรัฐธรรมนูญในยุคดิจิทัลเรื่อง “การสื่อสารเนื้อหาทางประวัติศาสตร์สู่ยุคดิจิทัล วันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2565 เวลา 08.30 น. – 16.30 น. ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ วันที่ 21 มกราคม 2565 ท่านผู้หญิงสิริติยา เจนเซน ได้ให้เกียรติบรรยายเรื่อง “การสื่อสารเนื้อหาด้านประวัติศาสตร์และสังคมสู่ยุคดิจิทัล” ในการสัมมนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและการเผยแพร่รูปแบบการนำเสนอข้อมูลของศาลรัฐธรรมนูญในยุคดิจิทัล ซึ่งจัดขึ้นโดยมีสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานศาลปกครองเป็นเจ้าภาพร่วม ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

หอสมุดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญได้รับการจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ โดยมีสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นหน่วยธุรการและ นับแต่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญชุดแรก เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๑  ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๑ จัดตั้งสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราว อยู่ที่ ๔๙/๑ บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้บริหารชุดก่อตั้งได้ให้ความสำคัญกับห้องสมุดในฐานะที่เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ในวงงานศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในระยะเริ่มต้นได้จัดหาหนังสือกฎหมายและการเมืองการปกครอง ได้ประมาณ ๓๐๐ เล่ม มีการจัดทำทะเบียนหนังสือชุดแรกเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๒ โดยอาศัยพื้นที่ว่างระหว่างห้องทำงาน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นมุมจัดวางหนังสือและจัดเจ้าหน้าที่ไว้บริการให้ยืม-คืน ดูแลรักษาตามความเหมาะสม จนกระทั่งปลายปี ๒๕๔๓ ได้ย้ายที่ทำการมายังอาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อันเป็นที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญถาวรแห่งแรกจึงได้จัดให้มีห้องสมุดศาลรัฐธรรมนูญขึ้นบริเวณชั้น ๑ ของอาคารบ้านเจ้าพระยารัตนา ธิเบศร์ ห้องสมุดศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีทรัพยากรสารนิเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยมีการลงรายการทรัพยากรสารนิเทศเป็นการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LC) และได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Elib) มาใช้เพื่อให้สามารถทำการสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตจากหน้าเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญ…