กรมพระธรรมนูญ

แนะนำองค์กร กรมพระธรรมนูญ เป็นองค์กรหลักของกระทรวงกลาโหมที่มุ่งธำรงความยุติธรรม ในกระบวนการยุติธรรมทหารแก่ทหารและประชาชน รักษาดุลยภาพแห่งกฎหมาย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการสั่งการการปกครองบังคับบัญชาทหารในอันที่จะเพิ่มศักยภาพด้านการทหารของชาติโดยรวม พันธกิจตามกฎหมาย – ด้านศาลทหาร – ด้านอัยการ – ด้านทนายทหาร – ด้านนายทหารพระธรรมนูญ – ด้านธุรการและวิชาการทางด้านกฎหมายและสังคมศาสตร์ – ด้านการคุ้มครองพยาน พันธกิจด้านศาลทหาร ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของศาลทหารให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย ทรงประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลและเป็นสากล

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลและร่วมลงนามถวายพระพรเนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2562 เวลา 09.00 น. นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ และนายชาติชาย สุทธิกลม กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วย นายโสพล จริงจิตร เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายบุญเกื้อ สมนึก และนางสาวรตญา กอบศิริกาญจน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและร่วมลงนามถวายพระพร ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัดนิทรรศการ “เฉลิมพระเกียรติพระภูมีพระบารมีปกเกล้าชนชาวไทย” ณ ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ [Show slideshow]

ภาพแสดงความไว้อาลัยแด่พระบาท สมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

ภาพแสดงความไว้อาลัยแด่พระบาท สมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

งานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “รู้เขา รู้เรา สู่การพัฒนาห้องสมุดอย่างยั่งยืน”

ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้จัดงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “รู้เขา รู้เรา สู่การพัฒนาห้องสมุดอย่างยั่งยืน” เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2561 ณ ห้องเสวนา ชั้น 6 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานห้องสมุดโดยการนำสถิติและตัวชี้วัดของห้องสมุดมาใช้ประโยชน์ และการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้บริการห้องสมุด เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าในงานห้องสมุด รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงานด้านสารสนเทศ และการประสานงานเครือข่ายระหว่างศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชนฯ ร่วมกับห้องสมุดเครือข่ายกฎหมาย การเมืองและการปกครอง และห้องสมุดหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาการสัมมนาแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ ดังนี้ การบรรยายเรื่อง “สถิติและตัวชี้วัดในห้องสมุด: ความคาดหวังและความเป็นจริง” โดย ผศ.ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ อาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการบรรยายเรื่อง “User Experience (UX) in Libraries” โดย ดร. สุพร พงษ์นุ่มกุล ผู้เชี่ยวชาญด้าน Human-Computer Interaction ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ทั้งนี้…

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ Rights and Liberties Protection Department เป็นหน่วยงานในการส่งเสริม คุ้มครอง และสร้างหลักประกันสิทธิและเสรีภาพตามหลักสิทธิมนุษยชน และให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย โดยประชาชนสามารถขอรับความช่วยเหลือจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในเรื่องต่าง ๆ อาทิ กรณีตกเป็นผู้เสียหายหรือจำเลยในคดีอาญา ถูกยิง ถูกแทง ถูกฆ่า ถูกระเบิด ถูกข่มขืน หรือถูกทำร้ายร่างกาย โดยที่ตัวเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2559 การรับเรื่องราวร้องทุกข์ การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การส่งเสริมสิทธิผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนคดีอาญามาตร 134/1 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การคุ้มครองพยานในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 และการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน วิสัยทัศน์องค์กร “เป็นองค์กรในการส่งเสริม คุ้มครอง และสร้างหลักประกันสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน สู่ความเป็นสากล” พันธกิจ ทำหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักการสิทธิมนุษยชน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนมีความสมานฉันท์ ได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพในระดับสากล ห้องสมุดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

ห้องสมุดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

ห้องสมุดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้ดำเนินการจัดตั้งห้องสมุดเฉพาะทางประเภทห้องสมุดกฎหมาย (Law Library) และศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ด้านกฎหมาย และหรือที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน หนังสือ วารสาร ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ เอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้บริการแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน ปัจจุบันได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม  ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางด้านโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ “Walai Autolib” เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการห้องสมุดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

ภาพแสดงความไว้อาลัยแด่พระบาท สมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ของศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรมเฉลิมพระเกียรติ

ภาพแสดงความไว้อาลัยแด่พระบาท สมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ของศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรมเฉลิมพระเกียรติ

ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรมเฉลิมพระเกียรติ

แนะนำห้องสมุด ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เป็นห้องสมุดของศาลยุติธรรมและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม กำกับดูแลโดยศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกองสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศด้านกฎหมายและวิชาการด้านอื่น ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการปฏิบัติราชการแก่ผู้พิพากษา ข้าราชการศาลยุติธรรม ลูกจ้างในสังกัด และการศึกษาค้นคว้าของบุคคลภายนอก ภารกิจหลัก 1. จัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนการให้บริการสารสนเทศทางกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม 2. ให้บริการสารสนเทศทางกฎหมายและวิชาการของศาลยุติธรรม 3. สนับสนุนการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศทางกฎหมายและวิชาการของศาลยุติธรรม 4. ดำเนินการเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและจดหมายเหตุ 5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สำนักงานอัยการสูงสุด แสดงความไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

ภาพกิจกรรมแสดงความไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยสำนักงานอัยการสูงสุด [Show slideshow]

ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานอัยการสูงสุด

ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นหน่วยงานที่รวบรวมและให้บริการองค์ความรู้ทางด้านกฎหมายแก่บุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด ตลอดจนประชาชนทั่วไป ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดเล็งเห็นว่าพนักงานอัยการมีความจำเป็นต้องใช้บริการห้องสมุดอยู่ตลอดเวลาเพื่อหาความรู้ เพิ่มเติมทั้งในด้านนิติศาสตร์และสาขาวิชาอื่น เพื่อดำรงตนในฐานะที่เป็นผู้มีความรู้ มีความคิดทันสมัย และมีทัศนะกว้างขวาง อันเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างยิ่งของผู้ที่เป็นทนายแผ่นดิน โดยศูนย์วิทยบริการถือเป็นภารกิจหลักที่จะต้องทำหน้าที่เป็นแหล่งให้บริการความรู้เหล่านี้แก่ข้าราชการอัยการซึ่งปฏิบัติภารกิจอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ภารกิจหลัก ๑. งานบริหารทั่วไป ๒. งานบริการสารสนเทศ ๓. งานพัฒนาวิทยบริการด้วยสื่อสารสนเทศ ๔. งานเอกสารพิเศษทางกฎหมาย ๕. งานพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ๖. งานห้องสมุดสาขา ๗. งานพิพิธภัณฑ์ ๘. งานจดหมายเหตุ