หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักงานอธิการบดี มีผู้บริหารสูงสุด คือ ผู้อำนวยการหอสมุดฯ มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการให้บริการวิชาการ แก่นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยในทุกสาขาวิชาและทุกระดับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นพัฒนาเสรีภาพแห่งการเรียนรู้ เสริมสร้างสังคมอุดมปัญญา รวมทั้งทำหน้าที่จัดหาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือ/นวัตกรรมที่นำสมัยเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าใช้บริการโดยปราศจากข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ และอุปกรณ์การเข้าถึง ตลอดจนพัฒนาบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ หอสมุดฯ มีการบริหารงานแบบศูนย์รวม แบ่งหน่วยงานออกเป็น 5 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ศูนย์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บริการท่าพระจันทร์ ศูนย์บริการรังสิต และศูนย์บริการภูมิภาคและเครือข่าย โดยมีห้องสมุดในสังกัดจำนวน 10 แห่ง และ 1 ศูนย์การเรียนรู้ ภายใต้สังกัดศูนย์บริการท่าพระจันทร์จำนวน 6 แห่ง  คือ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ (คณะนิติศาสตร์) ห้องสมุดศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี) ห้องสมุดคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  ห้องสมุดศาสตราจารย์ดิเรก ชัยนาม (คณะรัฐศาสตร์)…

ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน

ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นห้องสมุดเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน ที่รวบรวมสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยและต่างประเทศ เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย วิสัยทัศน์ ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชนเป็นองค์กรสารสนเทศ ด้านสิทธิมนุษยชนชั้นนำระดับชาติ พันธกิจ 1. แสวงหา คัดเลือก จัดหา จัดเก็บ จัดระบบและให้บริการสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชน แก่บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และบุคคลทั่วไป 2. จัดหา พัฒนาและปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและบริการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 3. พัฒนาการให้บริการสารสนเทศที่หลากหลาย และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ 4. ส่งเสริมการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) แก่บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 5. แสวงหา และพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์การสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชน

ห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม

ห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม เป็นห้องสมุดเฉพาะทางประเภทห้องสมุดกฎหมาย (Law Library) โดยเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือ เอกสารต่างๆ จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ แยกออกมาจากสำนักงานศาลยุติธรรม เริ่มเปิดดำเนินงานมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เปิดให้บริการแก่ข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมและบุคคลภายนอก ปัจจุบันห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม สังกัดกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ห้องสมุดกระทรวงยุติธรรมมีห้องสมุดเครือข่ายในสังกัดกระทรวงยุติธรรม 9 แห่ง ประกอบด้วย ห้องสมุดกรมคุมประพฤติ ห้องสมุดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ห้องสมุดกรมบังคับคดี ห้องสมุดราชทัณฑ์ ห้องสมุดสำนักงานกิจการยุติธรรม ห้องสมุดสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ห้องสมุดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. และห้องสมุดกรมสอบสวนคดีพิเศษ ปัจจุบันใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ “Walai Autolib” ในการบริหารจัดการห้องสมุด

ห้องสมุดวุฒิสภา

ห้องสมุดวุฒิสภาเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทของวุฒิสภาและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ตลอดจนองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุและเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งสิ่งของที่ระลึกที่ได้รับจากภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ ห้องสมุดวุฒิสภาให้บริการแก่สมาชิกวุฒิสภา บุคลากรในหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้องในวงงานรัฐสภา ตลอดจนประชาชนทั่วไปและผู้สนใจ ภารกิจหลัก 1. ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทของวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 2. ดำเนินการวางระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำดรรชนีหมวดหมู่ และจัดฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการบริการค้นคว้าอ้างอิงให้แก่สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในวงงานวุฒิสภา และประชาชนทั่วไป 3. ดำเนินการรวบรวม จัดเก็บวัตถุ หรือเอกสารที่มีค่าทางประวัติศาสตร์ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา รวมทั้งขอ ที่ระลึกที่ได้รับมาจากภายในและต่างประเทศ 4. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นกลุ่มงานกลุ่มหนึ่งในกองกฎหมายไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการรวบรวม จัดทำ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ให้บริการและเผยแพร่ข้อมูลทางด้านกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รวมทั้งประชาชนให้ได้รับข้อมูลทางกฎหมายที่ครบถ้วนและถูกต้อง ประเภทงานบริการ ๑. บริการยืม – คืนหนังสือ วารสาร และเรื่องเสร็จของสำนักงานฯ ๒. บริการยืม – คืนระหว่างห้องสมุด ๓. บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าข้อมูลทางด้านกฎหมาย ๔. บริการแนะนำและสาธิตการสืบค้นทรัพยากรสารนิเทศ ๕. บริการตรวจสอบหนังสือเกินกำหนด ๖. บริการสืบค้นฐานข้อมูลของห้องสมุด ๗. บริการตอบคำถามทางโทรศัพท์ เวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ช่องทางการติดต่อ ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่อยู่ 1 ถนนพระอาทิตย์ แขวงพระบรมหาราชวัง  เขตพระนคร  กรุงเทพฯ 10200 http://www.krisdika.go.th ติดต่อ นางสาวมลฤดี  นิยมธรรม โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๒-๐๒๐๖ ต่อ ๑๕๑๒ โทรสาร ๐-๒๒๒๐-๗๖๙๕ แนะนำองค์กร (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

ห้องสมุดสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

ห้องสมุดสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นห้องสมุดที่ทำความร่วมมือกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางของแหล่งข้อมูลและเผยแพร่ความรู้ด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงประชาชนที่สนใจ ประเภทงานบริการ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ เวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 – 17.00 น. ฐานข้อมูลออนไลน์ เนื่องจากห้องสมุด สพธอ. เป็นห้องสมุดที่ทำความร่วมมือกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงใช้ช่องทางการเข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์เดียวกันกับของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ http://koha.library.tu.ac.th/ ช่องทางการติดต่อ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) อาคารเดอะ ไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์ พระรามเก้า (อาคารบี) ชั้น 20-22 เลขที่ 33/4 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 เจ้าหน้าที่ห้องสมุด: นางสาวณัฐรัตน์ เตชาทิตย์ โทรศัพท์ 0 2123 1201 ต่อ 91421 โทรสาร 0…

หอสมุดกฎหมายมหาชน สำนักงานศาลปกครอง

หอสมุดกฎหมายมหาชนเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ด้านกฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครองให้บริการแก่บุคลากรในหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปและผู้สนใจ วิสัยทัศน์ สำนักหอสมุดกฎหมายมหาชน เป็นหน่วยงานที่เป็นเลิศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรสารนิเทศ ที่ให้บริการสารสนเทศ องค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครองทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยมุ่งให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการสนับสนุนเป็นศูนย์กลางรวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาการด้านกฎหมายมหาชนของประเทศ และการปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง

ห้องสมุดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ มุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรกรมฯ ในด้านต่างๆ และ จุดประกายให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จากทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดมีให้บริการ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์  ผลงานทางวิชาการ และ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ เอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ เป็นต้น ในปัจจุบันได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม  ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางด้านคอมพิวเตอร์และโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ เข้ามาใช้ในการจัดการห้องสมุดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ประเภทงานบริการ ๑. งานบริการยืน – คืน ๒. บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ ๓. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า ๔. บริการต่ออายุทรัพยากรสารสนเทศผ่านทางอินเตอร์เน็ต เวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา ๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ช่องทางการติดต่อ ห้องสมุดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคารเอ ชั้น ๕) เลขที่ ๑๒๐ หมู่ ๓ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐-๒๑๔๑-๖๕๑๐…

ห้องสมุดศาลล้มละลายกลาง

ห้องสมุดศาลล้มละลายกลางเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ด้านกฎหมายล้มละลายและกฎหมายอื่นทั่วๆไป ให้บริการแก่บุคลากรในหน่วยงานรวมทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชนและผู้สนใจ วิสัยทัศน์ สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นศาลที่ใช้อำนาจตุลาการในการดำรงอำนาจอธิปไตยและรักษาความเรียบร้อยของสังคมโดยการอำนวยความยุติธรรมภายใต้หลักนิติธรรมด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลทั้งมุ่งนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยมาใช้  เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมได้โดยง่ายภายในปี 2560 ภารกิจหลัก 1. งานพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรสารนิเทศ 2. งานรวบรวมและให้บริการองค์ความรู้ด้านกฎหมายล้มละลาย และกฎหมายอื่นทั่วไป 3. งานบริการช่วยค้นคว้า 4. งานสนับสนุนความร่วมมือระหว่างห้องสมุดด้านกฎหมาย ประเภทงานบริการ 1. งานบริการยืม – คืน 2. งานบริการและช่วยค้นคว้าข้อมูลต่างๆ 3. งานบริการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศตามคำขอ 4. มุมให้บริการ เช่น มุมหนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ เป็นต้น เวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. หยุดวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ ช่องทางการติดต่อ ศาลล้มละลายกลาง อาคาร A ชั้น 4 เลขที่ 120 หมู่ที่…

ห้องสมุดและนิทรรศการประชาธิปไตยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ห้องสมุดและนิทรรศการประชาธิปไตย กกต. จัดตั้งเพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจอย่างพอเพียงและทันท่วงที รวมทั้ง นักการเมือง พรรคการเมือง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการเลือกตั้ง นิสิต-นักศึกษา นักเรียน สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การเลือกตั้ง และเกิดความตระหนักในการระมัดระวังต่อการกระทำผิดกฎหมายมากขึ้น ภารกิจหลัก เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับปรัชญา แนวคิด ความเป็นมาของการเมืองการปกครอง พรรคการเมือง การเลือกตั้ง การออกเสียงประชามติ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน มติคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำวินิจฉัยสั่งการคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำสั่งศาลที่เกี่ยวกับคดีเลือกตั้ง ระเบียบ กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตลอดจน ผลงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมทั้งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประเภทงานบริการ – บริการ สืบค้นข้อมูล มติคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อกำหนดคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อกำหนดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง คำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำวินิจฉัยสั่งการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำสั่งศาลฎีกา คำสั่งศาลอุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์ภาค ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองกลาง…