หอสมุดสุขุม นวพันธ์ สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

แนะนำองค์กร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2509 โดยโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ งานฝึกอบรมส่วนหนึ่งของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ งานฝึกอบรม และงานสอนส่วนหนึ่งของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาเป็นกิจกรรมหนึ่งของสถาบัน ปัจจุบัน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก “ส่วนราชการ” สู่ การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ โดย พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2562 ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2562 หน้า 177-207 เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2562

ห้องสมุดกรมพระธรรมนูญ

แนะนำองค์กร กรมพระธรรมนูญเป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่เกี่ยวกับศาลทหาร อัยการทหาร ทนายทหาร นายทหารพระธรรมนูญ การคุ้มครอง พยานในคดีอาญา ราชการในส่วนธุรการและวิชาการที่เกี่ยวกับกฎหมายและสังคมศาสตร์ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย มีเจ้ากรมพระธรรมนูญเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ แนะนำห้องสมุด ห้องสมุดกรมพระธรรมนูญ เป็นห้องสมุดเฉพาะด้านกฎหมายแห่งเดียวในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่สนับสนุนข้อมูลด้านกฎหมาย ประเภทงานบริการ งานยืม – คืน สารสนเทศ เอกสารวิจัยเกี่ยวกับกฎหมาย เวลาเปิดให้บริการ 08.30 – 16.30 น. ฐานข้อมูลออนไลน์และช่องทางการเข้าถึงฐานข้อมูล (Link Address) http://www3.rtarf.mi.th/ml_jag_mod/ ช่องทางการติดต่อ ห้องสมุดกรมพระธรรมนูญ โรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ (ชั้น 8 ) อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) 47/433 หมู่ 3 ต.บ้านใหม่ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 02 980 5800 เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ร.ท.จักรพงศ์ มุมทอง เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ โทรศัพท์…

ห้องสมุดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

ห้องสมุดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้ดำเนินการจัดตั้งห้องสมุดเฉพาะทางประเภทห้องสมุดกฎหมาย (Law Library) และศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ด้านกฎหมาย และหรือที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน หนังสือ วารสาร ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ เอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้บริการแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน ปัจจุบันได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม  ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางด้านโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ “Walai Autolib” เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการห้องสมุดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรมเฉลิมพระเกียรติ

แนะนำห้องสมุด ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เป็นห้องสมุดของศาลยุติธรรมและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม กำกับดูแลโดยศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกองสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศด้านกฎหมายและวิชาการด้านอื่น ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการปฏิบัติราชการแก่ผู้พิพากษา ข้าราชการศาลยุติธรรม ลูกจ้างในสังกัด และการศึกษาค้นคว้าของบุคคลภายนอก ภารกิจหลัก 1. จัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนการให้บริการสารสนเทศทางกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม 2. ให้บริการสารสนเทศทางกฎหมายและวิชาการของศาลยุติธรรม 3. สนับสนุนการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศทางกฎหมายและวิชาการของศาลยุติธรรม 4. ดำเนินการเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและจดหมายเหตุ 5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานอัยการสูงสุด

ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นหน่วยงานที่รวบรวมและให้บริการองค์ความรู้ทางด้านกฎหมายแก่บุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด ตลอดจนประชาชนทั่วไป ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดเล็งเห็นว่าพนักงานอัยการมีความจำเป็นต้องใช้บริการห้องสมุดอยู่ตลอดเวลาเพื่อหาความรู้ เพิ่มเติมทั้งในด้านนิติศาสตร์และสาขาวิชาอื่น เพื่อดำรงตนในฐานะที่เป็นผู้มีความรู้ มีความคิดทันสมัย และมีทัศนะกว้างขวาง อันเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างยิ่งของผู้ที่เป็นทนายแผ่นดิน โดยศูนย์วิทยบริการถือเป็นภารกิจหลักที่จะต้องทำหน้าที่เป็นแหล่งให้บริการความรู้เหล่านี้แก่ข้าราชการอัยการซึ่งปฏิบัติภารกิจอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ภารกิจหลัก ๑. งานบริหารทั่วไป ๒. งานบริการสารสนเทศ ๓. งานพัฒนาวิทยบริการด้วยสื่อสารสนเทศ ๔. งานเอกสารพิเศษทางกฎหมาย ๕. งานพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ๖. งานห้องสมุดสาขา ๗. งานพิพิธภัณฑ์ ๘. งานจดหมายเหตุ

หอสมุดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญได้รับการจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ โดยมีสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นหน่วยธุรการและ นับแต่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญชุดแรก เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๑  ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๑ จัดตั้งสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราว อยู่ที่ ๔๙/๑ บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้บริหารชุดก่อตั้งได้ให้ความสำคัญกับห้องสมุดในฐานะที่เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ในวงงานศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในระยะเริ่มต้นได้จัดหาหนังสือกฎหมายและการเมืองการปกครอง ได้ประมาณ ๓๐๐ เล่ม มีการจัดทำทะเบียนหนังสือชุดแรกเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๒ โดยอาศัยพื้นที่ว่างระหว่างห้องทำงาน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นมุมจัดวางหนังสือและจัดเจ้าหน้าที่ไว้บริการให้ยืม-คืน ดูแลรักษาตามความเหมาะสม จนกระทั่งปลายปี ๒๕๔๓ ได้ย้ายที่ทำการมายังอาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อันเป็นที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญถาวรแห่งแรกจึงได้จัดให้มีห้องสมุดศาลรัฐธรรมนูญขึ้นบริเวณชั้น ๑ ของอาคารบ้านเจ้าพระยารัตนา ธิเบศร์ ห้องสมุดศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีทรัพยากรสารนิเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยมีการลงรายการทรัพยากรสารนิเทศเป็นการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LC) และได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Elib) มาใช้เพื่อให้สามารถทำการสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตจากหน้าเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญ…

ห้องสมุดสถาบันพระปกเกล้า

ห้องสมุดสถาบันพระปกเกล้า เป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านวิชาการ การค้นคว้าวิจัย และการศึกษาอบรมเพื่อตอบสนองต่อพันธกิจของสถาบันฯก่อตั้งในปลายปี พ.ศ. 2543 โดยศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าในอดีต) หลังจากนั้นได้มีการจัดหาสิ่งพิมพ์เพื่อให้บริการแก่บุคลากรและผู้เข้ารับการศึกษาอบรมของสถาบันพระปกเกล้า ทั้งนี้ในระยะหลังเนื่องจากมีบุคคลภายนอกสนใจที่จะค้นคว้าข้อมูล สารสนเทศด้านการเมืองการปกครองของสถาบัน ฯ จึงได้เปิดบริการให้แก่บุคคลภายนอก ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ฯ มีเนื้อหาด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของประชาชน ธรรมาภิบาล การจัดการความขัดแย้งและการเสริมสร้างสันติวิธี โดยแบ่งทรัพยากรออกเป็นประเภทต่าง ๆ อาทิ หนังสือ เอกสารวิชาการส่วนบุคคล เอกสารวิชาการกลุ่ม วิทยานิพนธ์ สิ่งพิมพ์สถาบัน ฯ วารสาร หนังสือพิมพ์และโสตทัศนวัสดุ ห้องสมุด ฯ ใช้ระบบจัดหมวดหมู่ของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) นอกจากนี้ยังมีระบบหมวดหมู่เฉพาะที่กำหนดขึ้นตามความเหมาะสมของทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์สถาบัน ฯ และเอกสารวิชาการ เป็นต้นมา บริการอ่าน

ห้องสมุดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ห้องสมุดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือ หอสมุดรัฐสภา ดำเนินการโดยกลุ่มงานห้องสมุด และกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ให้บริการสารสนเทศทางวิชาการเพื่อสนับสนุนงานด้านนิติบัญญัติ และส่งเสริมความรู้ด้านการเมืองการปกครอง แก่สมาชิกรัฐสภา คณะกรรมาธิการ ข้าราชการ บุคคลในวงงานรัฐสภา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ใช้เป็นแหล่งในการเข้าถึง สืบค้น และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทงานบริการ – บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ – บริการยืมต่อทรัพยากรสารสนเทศ (Renew) – บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC) – บริการแนะนำให้จัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ (Purchase suggestions) – บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า ทางโทรศัพท์ e-mail และทาง Live Chat – บริการทรัพยากรสารสนเทศผ่านทางเว็บไซต์ (https://library.parliament.go.th) – บริการคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (Legislative Institutional Repository of Thailand – LIRT) > Website            https://dl.parliament.go.th/…

ห้องสมุดสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

ห้องสมุดสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นห้องสมุดเฉพาะ (Special library) ให้บริการพนักงานภายในและบุคคลทั่วไปด้วยสารสนเทศที่เน้นด้านกฎหมาย การเมืองการปกครอง ข้อมูลของผู้ตรวจการแผ่นดินของไทย และข้อมูลสารสนเทศจากผู้ตรวจการแผ่นดิน และองค์กรที่มีอำนาจคล้ายคลึงกันในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ห้องสมุดเริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2545 เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้ส่วนวิจัยและวิชาการ ในขณะนั้น โดยใช้ระบบจัดหมวดหมู่แบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification: DC) มีนักวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบดูแลในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ให้บริการยืม – คืน ด้วยระบบมือ จากนั้นในปี พ.ศ. 2550 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานและขอบเขตหน้าที่ของงานในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยให้ห้องสมุดอยู่ในส่วนงานของ “ศูนย์ศึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน” และต่อมาสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน่วยงานอีกครั้ง โดยในครั้งนี้ได้กำหนดให้ห้องสมุดอยู่ในการกำกับดูแลของ “สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา” เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2555 เริ่มมีการดำเนินงานห้องสมุดเต็มรูป มีบรรณารักษ์ทำหน้าที่ประจำห้องสมุด และได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Aleph เข้ามาบริหารงานห้องสมุด และให้บริการสืบค้นโดยใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้ใช้สามารถสืบค้นและยืม – คืน ทรัพยากรสารสนเทศได้สะดวก รวดเร็ว

วิทยบริการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

วิทยบริการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง  เป็นแหล่งรวมความรู้ด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ ให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ  เก็บรวบรวมคำพิพากษาศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลฎีกา ของคดีในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากเรื่องที่มีอยู่แล้ว ให้บริการแก่บุคลากรภายในหน่วยงาน ตลอดจนประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ ประเภทงานบริการ งานบริการยืม-คืน บริการช่วยค้นคว้า มุมให้บริการ ห้องสื่อการเรียนรู้ มุมที่นั่งเดี่ยว