สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นหน่วยงานราชการสังกัดรัฐสภา จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มีฐานะเทียบเท่ากรมและเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการวุฒิสภาเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ขึ้นตรงต่อประธานวุฒิสภา การบริหารราชการภายในแบ่งออกเป็น ๑๘ สำนักที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบครอบคลุมภารกิจและกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของวุฒิสภา และ ๓ กลุ่มงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการวุฒิสภา อำนาจหน้าที่และบทบาทของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภามีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสนับสนุนงานด้านวิชาการและธุรการของวุฒิสภา ตลอดจนสนับสนุน ส่งเสริมและเผยแพร่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยเฉพาะบทบาทการดำเนินงานทางด้านนิติบัญญัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ ของวุฒิสภา อำนาจหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาแบ่งออกเป็น ๒ ด้าน คือ ด้านวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภามีหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และวิจัยในเรื่องต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาการดำเนินงานของสมาชิกวุฒิสภาตามบทบาทและอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ตลอดจนศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และวิจัยรวมทั้งเปรียบเทียบข้อมูลของนานาอารยประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับสนับสนุนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับวงงานรัฐสภาต่างประเทศ ของวุฒิสภา ด้านธุรการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภามีหน้าที่รับผิดชอบในงานธุรการของวุฒิสภาทั้งในด้านการประชุมวุฒิสภา และการประชุมคณะกรรมาธิการ การประสานงานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของวุฒิสภาและสมาชิกวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ประกาศและคำสั่งได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาในการสนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติงานตามภารกิจของวุฒิสภา ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่วุฒิสภามอบหมาย ห้องสมุดวุฒิสภา

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

คณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นสถาบันที่ปรึกษากฎหมายของรัฐ เป็นสถาบันทางวิชาการ และเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งของการปกครองประเทศโดยกฎหมาย (rule of law) ซึ่ง เป็นหลักการสำคัญที่ต้องยึดถือของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นหลักประกันว่าการใช้อำนาจทางปกครองจะเป็นไปตามกฎหมายซึ่ง รัฐสภาได้ตราขึ้นตามความประสงค์ของประชาชนในสังคม และเพื่อให้เป็นหลักประกันว่าอำนาจทางปกครองจะไม่ตกเป็นของบุคคลใดบุคคล หนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ คณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามิใช่ที่ปรึกษาของรัฐบาลใด รัฐบาลหนึ่งเท่านั้น และมิได้ปฏิบัติงานตามทิศทางที่รัฐบาลประสงค์เพียงประการเดียว แต่ปฏิบัติงานเพื่อให้การใช้อำนาจทางปกครองเป็นไปตามกฎหมายและเพื่อประโยชน์ ของประชาชนส่วนรวม ในการจัดทำกฎหมายและให้ความเห็นทางกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักนิติศาสตร์และความสอดคล้องกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมุ่งหมายให้ฝ่ายปกครองสามารถนำไปปัญหาที่แท้จริงของสังคมได้ ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สพธอ. หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหน่วยงานหลักของประเทศที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ร่วมทั้งผลักดันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือธุรกรรมออนไลน์ของประเทศให้เติบโตเพิ่มขึ้น ทั้งมูลค่าและปริมาณ ด้วยการจัดโครงสร้างพื้นฐานที่เรียกว่า Soft Infrastructure ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย (Law) มาตรฐาน (Standard) ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy) ที่จะเอื้ออำนวยให้การทำธุรกรรมออนไลน์นั้นได้มาตรฐาน มั่นคงปลอดภัย และน่าเชื่อถือ ซึ่งเมื่อมีสิ่งเหล่านี้แล้ว ผู้ที่ทำธุรกรรมก็จะเกิดความเชื่อมั่นและทำให้ธุรกรรมออนไลน์นั้นเติบโตไปได้ นอกจากนั้นแล้ว ETDA ยังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs หันมาใช้เครื่องมือออนไลน์ทำอีคอมเมิร์ซ พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ เพื่อให้ตลาดออนไลน์ไทยเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ห้องสมุดสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

สำนักงานศาลปกครอง

สำนักงานศาลปกครอง เป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองเป็นผู้บังคับบัญชา ของข้าราชการในสำนักงานศาลปกครอง อำนาจหน้าที่และบทบาทของสำนักงานศาลปกครอง สำนักงานศาลปกครอง มีอำนาจหน้าที่และบทบาทที่สำคัญในการสนับสนุนและพัฒนาให้งานอำนวย ความยุติธรรมของศาลปกครองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนและทางราชการ โดยมีอำนาจหน้าที่และบทบาท 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ด้านธุรการ สำนักงานศาลปกครองเป็นผู้รับผิดชอบในงานธุรการทั้งปวงของศาลปกครอง ด้านคดี สำนักงานศาลปกครองจะเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองตามคำสั่งของศาลปกครอง และดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำบังคับของศาลปกครอง ด้านวิชาการ สำนักงานศาลปกครองมีหน้าที่ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของศาลปกครอง วิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานของทางราชการ จัดพิมพ์เผยแพร่คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลปกครอง ตลอดจนจัดให้มีการศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ของตุลาการศาลปกครอง ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หอสมุดกฎหมายมหาชน สำนักงานศาลปกครอง

ศาลล้มละลายกลาง

ศาลล้มละลายกลางเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลางเป็นผู้บริหารงานของข้าราชการและลูกจ้างในศาลล้มละลายกลาง อำนาจหน้าที่และบทบาทของศาลล้มละลายกลาง ศาลล้มละลายกลางมีอำนาจหน้าที่และบทบาทที่สำคัญในการสนับสนุนและพัฒนาให้งานอำนวยความยุติธรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนและทางราชการ โดยการอำนวยความยุติธรรมภายใต้หลักนิติธรรมด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลทั้งมุ่งนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยมาใช้ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมได้โดยง่ายภายในปี 2560 ห้องสมุดศาลล้มละลายกลาง

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 มาตรา 31สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมือง และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายทะเบียนพรรคการเมือง และคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายทะเบียนพรรคการเมือง และคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ศึกษาและสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา การออกเสียงประชามติ และการพัฒนาพรรคการเมือง เผยแพร่วิชาการ ให้ความรู้และการศึกษาแก่ประชาชนรวมทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือการออกเสียงประชามติ ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้ง หรือการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือเกี่ยวกับการทุจริต หรือประพฤติมิชอบในการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พรรคการเมือง หรือบุคคลอื่นใดเพื่อดำเนินการตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย ห้องสมุดและนิทรรศการประชาธิปไตยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

ขณะที่ใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มีการควบคุมเด็กที่กระทำผิดโดยในปี พ.ศ. 2450 ได้จัดตั้งโรงเรียนดัดสันดานขึ้นที่เกาะสีชัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีเพื่อควบคุมผู้กระทำผิดซึ่งมีอายุระหว่าง 10-16 ปี อยู่ในความดูแลของกรมตำรวจและในเวลาต่อมาได้โอนไปอยู่ในความดูแลของกรมราชทัณฑ์ หลักจากนั้นมีพระราชบัญญัติราชทัณฑ์พุทธศักราช 2479 และพระราชบัญญัติจัดการฝึกและอบรมเด็กบางจำพวกพุทธศักราช 2479 วางหลักปฏิบัติต่อนักโทษผู้ใหญ่กับนักโทษเด็ก และเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนดัดสันดานมาเป็นโรงเรียนฝึกอาชีพพร้อมทั้งย้ายมาตั้งที่ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเมื่อปี 2501 กรมราชทัณฑ์ได้โอนกิจการโรงเรียนฝึกอาชีพไปให้ กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการซึ่งกรมประชาสงเคราะห์ ได้รับเด็กไว้ฝึกอบรม ณ เยาวชนสถาน บ้านห้วยโป่ง จังหวัดระยอง รัฐบาลเห็นว่าการปฏิบัติต่อเด็กในระหว่างจับกุมหรือพิจารณาคดีโดยใช้วิธีการเช่นเดี่ยวกับผู้ใหญ่นั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม และเป็นผลเสียต่อเด็กจึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 และกระทรวงยุติธรรม ได้เปิดดำเนินการ ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง กับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2495 มีที่ทำการชั่วคราวที่ศาลแขวงพระนครใต้ (เดิม) ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร ซึ่งภายหลังได้ย้ายมาอยู่อาคารที่ถนนราชินี ใกล้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ต่อมาเห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัวว่ามีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาของเด็กและเยาวชนจึงนำคดีครอบครัวมาพิจารณาในศาลนี้ด้วย โดยยกเลิกกฎหมายเดิมทั้งสองฉบับและให้ใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534…