ศาลยุติธรรม

แนะนำองค์กร วิสัยทัศน์ “ศาลยุติธรรม เป็นสถาบันที่อำนวยความยุติธรรม เพื่อให้สังคมสงบสุข เป็นธรรมและเสมอภาคโดยยึดหลักนิติธรรม” พันธกิจ 1. อํานวยความยุติธรรมเพื่อสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม 2. พัฒนาและสร้างระบบสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรมให้มีความรวดเร็ว สะดวก ทันสมัยและเป็นสากล 3. เสริมสร้างความร่วมมือทางการศาลและกระบวนการยุติธรรมไทยและต่างประเทศ 4. ธำรงความศรัทธาและความเชื่อมั่นในการอำนวยความยุติธรรมเพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของสังคมไทยที่ยั่งยืน แผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2561 – 2564 J   Justice for All ยึดมั่นการอำนวยความยุติธรรมด้วยหลักนิติธรรม U  Uplift and Uphold Standard ยกระดับมาตรฐานระบบงานศาลยุติธรรมสู่ระดับสากล S   Stronger Specialized Court เพิ่มความเข้มแข็งให้ศาลชำนัญพิเศษ และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ T  Trusted Pillar เพิ่มความเชื่อมั่นศรัทธาในการอำนวยความยุติธรรม I    Innovation พัฒนานวัตกรรมการอำนวยความยุติธรรมของศาลยุติธรรม C  Collaboration เร่งบูรณาการเครือข่ายด้านการยุติธรรมทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ E    Excellence Organization เพิ่มศักยภาพองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

กรมพระธรรมนูญ

แนะนำองค์กร กรมพระธรรมนูญ เป็นองค์กรหลักของกระทรวงกลาโหมที่มุ่งธำรงความยุติธรรม ในกระบวนการยุติธรรมทหารแก่ทหารและประชาชน รักษาดุลยภาพแห่งกฎหมาย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการสั่งการการปกครองบังคับบัญชาทหารในอันที่จะเพิ่มศักยภาพด้านการทหารของชาติโดยรวม พันธกิจตามกฎหมาย – ด้านศาลทหาร – ด้านอัยการ – ด้านทนายทหาร – ด้านนายทหารพระธรรมนูญ – ด้านธุรการและวิชาการทางด้านกฎหมายและสังคมศาสตร์ – ด้านการคุ้มครองพยาน พันธกิจด้านศาลทหาร ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของศาลทหารให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย ทรงประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลและเป็นสากล

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ Rights and Liberties Protection Department เป็นหน่วยงานในการส่งเสริม คุ้มครอง และสร้างหลักประกันสิทธิและเสรีภาพตามหลักสิทธิมนุษยชน และให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย โดยประชาชนสามารถขอรับความช่วยเหลือจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในเรื่องต่าง ๆ อาทิ กรณีตกเป็นผู้เสียหายหรือจำเลยในคดีอาญา ถูกยิง ถูกแทง ถูกฆ่า ถูกระเบิด ถูกข่มขืน หรือถูกทำร้ายร่างกาย โดยที่ตัวเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2559 การรับเรื่องราวร้องทุกข์ การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การส่งเสริมสิทธิผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนคดีอาญามาตร 134/1 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การคุ้มครองพยานในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 และการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน วิสัยทัศน์องค์กร “เป็นองค์กรในการส่งเสริม คุ้มครอง และสร้างหลักประกันสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน สู่ความเป็นสากล” พันธกิจ ทำหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักการสิทธิมนุษยชน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนมีความสมานฉันท์ ได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพในระดับสากล ห้องสมุดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

สำนักงานอัยการสูงสุด

สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่ง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด วิสัยทัศน์ “องค์กรอัยการมีความเป็นเลิศในการยุติธรรม และเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน” พันธกิจ ๑. อำนวยความยุติธรรมทางอาญาและบังคับใช้กฎหมายตามหลักนิติธรรม ๒. รักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน 3. พัฒนางานด้านสิทธิมนุษยชน คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั้งในและนอกประเทศตามหลักมาตรฐานสากล 4. พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางกฎหมายกับองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ 5. พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา สถาบันหลักหนึ่งในสามของอำนาจประชาธิปไตย เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ทำหน้าที่นิติบัญญัติ ในการตรากฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ให้ความเห็นชอบกิจการบ้านเมืองที่สำคัญ รวมถึงการใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ สำนักวิชาการ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ จัดให้มีการวิจัยและรวบรวมข้อมูลทางวิชาการ ตลอดจนการนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ ดำเนินการจัดทำข้อมูลและข้อเสนอแนะทางวิชาการตามความต้องการของสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและบุคคลในวงงานสภา ได้แก่ การจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและญัตติ การจัดทำเอกสารทางวิชาการและเอกสารเผยแพร่ด้านการเมืองการปกครอง ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานและการให้บริการงานห้องสมุด การพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ การจัดทำดัชนีและฐานข้อมูล โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ การประสานงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศกับหอสมุดรัฐสภานานาประเทศ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์การเมืองการปกครองตามหลักวิชาการพิพิธภัณฑ์ บริการนำชม จัดแสดงนิทรรศการ และการบริหารงานจดหมายเหตุของรัฐสภา

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

ผู้ตรวจการแผ่นดิน เกิดขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ได้บัญญัติอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินให้ทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน กรณีที่ได้รับความเดือดร้อนและความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ หรือพนักงานของรัฐ ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติ มาตรา 242 – 245 โดยมีเจตนารมณ์สานต่อจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่มุ่งหวังให้มีกลไกการคุ้มครองสิทธิประชาชน และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่ ดังนี้ มาตรา 230 ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดๆ บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม แก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ (2) แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจาก การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมนั้น (3) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินตาม…

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539  โดยมีเหตุผลให้การจัดตั้งเพื่อให้คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีอาญาและคดีแพ่ง โดยทั่วไปได้รับพิจารณาพิพากษา โดยผู้พิพากษาซึ่งมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และมีบุคคลภายนอกซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเข้ามาร่วมพิจารณาและพิพากษาคดีด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ห้องสมุดวิทยบริการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่า “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมืองและความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2477 มีนักศึกษากว่า 240,000 คน ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในจำนวนนี้ มีผู้ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ อาทิเช่น นายกรัฐมนตรี ประธานศาล ประธานรัฐสภา นักการเมือง เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา จึงนับเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตบุคลากรเพื่อการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินการตามพันธกิจในการให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง ให้บริการวิชาการแก่สังคมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ และเป็นผู้นำในการผลักดันและส่งเสริมการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความถูกต้องของสังคมตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังคำกล่าวที่ว่า “ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชาชน” หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 256 และมาตรา 257 บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เสนอแนะนโยบาย และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีส่งเสริมการศึกษาวิจัย ส่งเสริมความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน และจัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ โดยได้บัญญัติให้มีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ประกอบกับพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 17 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภาโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานกรรมการ และมาตรา 18 บัญญัติให้สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รับคำร้อง สืบสวนสอบสวน หรือตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมอบหมาย ศึกษาและสนับสนุนให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน

กระทรวงยุติธรรม

กระทรวงยุติธรรม เป็นองค์กรหลักของกระบวนการยุติธรรม ในการอำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน ป้องกันและควบคุมอาชญากรรม บำบัดแก้ไขฟื้นฟู และสงเคราะห์ผู้กระทำผิด สนับสนุนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาระบบงานยุติธรรมและกฎหมายอย่างมีเอกภาพ ทันต่อสภาวการณ์และเป็นมาตรฐานสากล ด้วยการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยยึดหลักความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในสังคมและการมีส่วนร่วม ภารกิจ หน้าที่ กระทรวงยุติธรรมมีภารกิจเป็นหน่วยงานหลักของกระบวนการยุติธรรม ในการดำเนินการเพื่อพัฒนากฎหมาย และระบบบริหารจัดการของกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นเอกภาพ โปร่งใส คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ช่วยเหลือและให้ความรู้ แก่ประชาชนทางกฎหมาย ป้องกันปราบปราม แก้ไข ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รวมทั้งป้องกัน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมในสังคมและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ การบังคับคดีทางแพ่ง บังคับคดีทางอาญา บำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม